องค์การบริหารส่วนตำบลวารีสวัสดิ์

อบต.วารีสวัสดิ์ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด
 
                                                                                
ภารกิจและอำนาจหน้าที่
          ภารกิจอาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลวารีสวัสดิ์เป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และรวมทั้งกฎหมายอื่น ทั้งนี้เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลวารีสวัสดิ์มีอำนาจหน้าที่ ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชน อีกทั้งภารกิจสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ดังนี้
1.  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
     1) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกทางน้ำและทางระบายน้ำ มาตรา 16(2) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และมาตรา 50(2) มาตรา 51(8) ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
    2)  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ มาตรา 16(4) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    3) การสาธารณูปการ มาตรา 16(5) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    4) การควบคุมดูแลอาคาร มาตรา 28 ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    5) การผังเมือง มาตรา 16(25) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    6)  การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร มาตรา 16(26) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    7)  ให้มีการบำรุงและการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น มาตรา 51(7) ตามพระราชบัญญัติ กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    1)  การจัดการศึกษา มาตรา 16(9) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    2)  การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส มาตรา 16(10) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    3) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มาตรา 16(13) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   
    4)  การส่งเสริมกีฬา มาตรา 16(14) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    5)  การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล มาตรา 16(19) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    6)  การส่งเสริมกีฬา มาตรา 16(14) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    1) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน มาตรา 16(15) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    2) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มาตรา 16(29) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    3) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มาตรา 16(30) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
4. ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยวมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง มาตรา 16(1) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    2)  การส่งเสริมการฝึกและประกอบอาชีพ มาตรา 16(6) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    3) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร มาตรา 51(5) ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    1) การดูแลรักษาที่สาธารณะ มาตรา 16(27) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย มาตรา 16(18) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    1)  การจัดการศึกษา มาตรา 16(9) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    2) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น มาตรา 16(11) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
7. ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง มาตรา 16(1) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    2)  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น มาตรา 16(16) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น พ.ศ. 2542
          การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานการณ์  การพัฒนาในปัจจุบัน  และโอกาสการพัฒนาในอนาคต ของเทศบาล  เป็นการประเมินโดยวิเคราะห์ถึงโอกาส  ศักยภาพ  และภาวะคุกคามหรือข้อจำกัด  อันเป็นสภาวะ แวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาด้านต่างๆ ของ อบต. รวมทั้งการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ของเทศบาล อันเป็นสภาวะแวดล้อมภายในเขต อบต. ซึ่งทั้งหมดจะเป็นการประเมินและสรุปสถานการณ์การพัฒนาของ อบต.ที่จะเป็นประโยชน์ ในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานในอนาคต โดยทั้งหมดจะใช้เทคนิค S W O T Analysis เป็นตัวแบบในการวิเคราะห์อันได้แก่ การพิจารณาถึงปัจจัยภายใน (ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวารีสวัสดิ์) คือ จุดแข็ง (Strength-S) จุดอ่อน (Weak-W) และปัจจัยภายนอก (ภายนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวารีสวัสดิ์) คือ โอกาส (Opportunity) และ อุปสรรค (Threat-T) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ซึ่งสามารถสรุปผลได้ ดังนี้
ปัจจัยภายใน
จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weak)
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
   1. องค์การบริหารส่วนตำบลวารีสวัสดิ์มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ครอบคลุม 11 หมู่บ้าน มีถนนสัญจรเข้าถึง ทุกหมู่บ้าน
   2.  พื้นที่ทางภูมิศาสตร์เอื้อต่อการพัฒนา เนื่องจากเป็นที่ราบ ไม่มีภูเขาสูงทำให้การ สร้างเส้นทางคมนาคมทางบกทางได้สะดวก และเอื้อต่อการทำการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพ พื้นฐานของประชาชนในเขตตำบลวารีสวัสดิ์
ด้านการเมืองการบริหารจัดการ
   1. ผู้บริหารมีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และมีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการพัฒนา
   2. มีการพัฒนากระบวนการให้บริการอย่าง ต่อเนื่อง โดยมีการนำเครื่องมือและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้การปฏิบัติงาน
   3. การเมืองมีเอกภาพส่งผลให้การดำเนินการพัฒนาไปตามนโยบายของผู้บริหาร
   4. มีกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านทำให้สะดวกในการประสานงานกับประชาชน
ด้านเศรษฐกิจ
   1. มีอ่างเก็บน้ำ...........ซึ่งเป็นแหล่งน้ำ ขนาดใหญ่ ที่ประชาชนในพื้นที่ใช้น้ำเพื่อการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมงน้ำจืด
   2. ประชาชนในพื้นที่มีการรวมกลุ่มกันแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากการเกษตรเพื่อการจำหน่าย
3. องค์การบริหารส่วนตำบลวารีสวัสดิ์ มีตลาดสดประจำตำบลเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตร และสินค้าอื่นๆ ได้ตลอดทั้งปี
ด้านสาธารณสุข
   1. มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลอยู่ ในพื้นที่ และมีโรงพยาบาลขนาดกลางอยู่ไม่ไกลจากเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวารีสวัสดิ์
   2. ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ
   3. มี อสม.ทุกหมู่บ้าน
   4. มีการรวมกลุ่มการดูแลสุขภาพของประชาชนและการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านผ่านโครงการของงานสาธารณสุขฯ
   5. ประชาชนตระหนักและให้ความสำคัญในการรักษาสุขภาพอนามัย
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
   1. สภาพพื้นที่ยังเป็นสังคมชนบทสภาพสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้รับกระผลกระทบจากการดำเนินใดๆ มากนักยังคงรักษาระบบนิเวศน์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์
   2. ไม่มีภัยธรรมชาติที่รุนแรง
   3. มีอ่างเก็บน้ำในพื้นที่
ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
   1. มีสถานศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา มัธยมศึกษาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวารีสวัสดิ์
   2. มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลวารีสวัสดิ์
   3. มีขนบธรรมเนียมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
   4. มีการส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
   1. องค์การบริหารส่วนตำบลวารีสวัสดิ์มีพื้นที่ขนาดใหญ่ มี ถนน ตรอก ซอย สำหรับการสัญจรภายในหมู่บ้านจำนวนมากทำให้การดูแล ปรับปรุง แก้ไขปัญหาพื้นผิวถนน ทางเท้าสัญจรชำรุด ไม่ทั่วถึง งบประมาณไม่เพียงพอในการ บริหารจัดการดูแล บำรุง รักษา
   2. ฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น จำนวนถนน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต ยังไม่เป็นปัจจุบันทำให้ยากต่อ การวางแผนการพัฒนาท้องถิ่น
ด้านการเมืองการบริหารจัดการ
   1. ประชาชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจใน บทบาท สิทธิและหน้าที่ของตนเองเพียงพอและยังขาดความตื่นตัวในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการบริหารและการ พัฒนาท้องถิ่น
   2. การบริการประชาชนยังไม่ครอบคลุมและทั่วถึง
   3. ช่องว่างระหว่างการติดต่อและการบริการประชาชน
   4. บุคลากรขาดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีไม่สามารถ
ใช้เทคโนโลยีที่มีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
   5. ขาดการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ได้แก่ กลุ่มทอผ้าไหม กลุ่มทอเสื่อกก กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่
ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
   1. บุคลากรด้านการศึกษาสถานที่และวัสดุ
   2. ไม่มีงบประมาณในการรองรับการถ่ายโอนภารกิจด้านการศึกษาจากหน่วยงานอื่น
   3. ไม่มีหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ศิลปะวัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น
   4. เยาวชนในพื้นที่ส่วนใหญ่รับวัฒนธรรมตะวันตกมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและไม่ให้ความสนใจในการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่นของตน
 6. ประชาชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทสิทธิและหน้าที่ของตนเองเพียงพอและยังขาดความตื่นตัวในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการบริหารและการพัฒนาท้องถิ่น
   7. การบริการประชาชนยังไม่ครอบคลุมและทั่วถึง
   8. ช่องว่างระหว่างการติดต่อและการบริการประชาชน
   9. บุคลากรขาดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีไม่สามารถใช้ เทคโนโลยีที่มีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
   10.ขาดการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
ด้านเศรษฐกิจ
   1. มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่แต่ไม่เพียงพอต่อการใช้สอยของประชาชนในพื้นที่
   2. พื้นที่เกษตรขาดความอุดมสมบูรณ์ด้วยปัญหาดินที่ใช้สำหรับทำการเกษตรเป็นดินร่วนปนทรายไม่กักเก็บความชุ่มชื้น
   3. ประชาชนขาดความรู้ด้านการตลาดเพื่อการกระจายสินค้าและการจัดจำหน่ายยังเป็นเพื่อการจำหน่ายเพื่ออุปโภคบริโภคภายในชุมชนเท่านั้น
ด้านสาธารณสุข
   1. องค์การบริหารส่วนตำบลวารีสวัสดิ์มีบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขไม่เพียงพอ
   2. มีงบประมาณเครื่องมือเครื่องใช้ในงานสาธารณสุขไม่เพียงพอ
   3. มีประชากรจำนวนมากการให้บริการไม่ทั่วถึง
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
   1. ไม่มีสถานที่กำจัดขยะเป็นของตำบล
   2. พื้นที่กว้างและมีครัวเรือนจำนวนมากทำให้การจัดเก็บขยะไม่ทั่วถึง
 
 
 
ปัจจัยภายนอก
โอกาส (Opportunity) อุปสรรค (Threat)
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
   1. มีนโยบายการถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณให้แก่เทศบาลตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
   2. มีระเบียบกฎหมายที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
ด้านการเมืองการบริหารจัดการ
   1. ได้รับความร่วมมือจากองค์กรต่างๆเป็นอย่างดีทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
   ด้านเศรษฐกิจ
   1. นโยบายรัฐเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
   2. เส้นทางคมนาคมขนส่งที่สะดวกอยู่ใกล้ตัวอำเภอและเป็นเส้นทางหลักไปสู่หลายจังหวัด ได้แก่ ยโสธร อุบลราชธานี มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
   1. การให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการบางโครงการ ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน
   2. ผังเมืองและการใช้ที่ดินไม่มีการวางแผนและผังเมืองอย่างเป็นระบบชัดเจน
   3. ระบบสาธารณูปโภคยังไม่ทั่วถึง
ด้านการเมืองการบริหารจัดการ
   1. นโยบายจากส่วนกลางขาดความต่อเนื่อง
   2. มีการถ่ายโอนภารกิจแต่ไม่ถ่ายโอนงบประมาณ
   3. มีระเบียบกฎหมายในการกำกับการปฏิบัติงานมากทำให้การดำเนินงานล่าช้าและขาดความคล่องตัว
ด้านเศรษฐกิจ
   1. ปัญหาความแห้งแล้งและขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง
 
          ภารกิจหลักและภารกิจรองที่องค์การบริหารส่วนตำบลวารีสวัสดิ์จะดำเนินการตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 องค์การบริหารส่วนตำบลวารีสวัสดิ์จึงได้กำหนดภารกิจหลักและภารกิจรอง ดังนี้
ภารกิจหลัก
1. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
   1)  การสร้างและบำรุงรักษาทางบกที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
   2)  การจัดให้มีการบำรุงทางบกและทางน้ำ
   3)  การจัดให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
   4)  การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
   5)  การจัดให้มีตลาด
   6)  การจัดให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต
   1)  การจัดการศึกษา
   2)  การจัดให้มีการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
   3)  การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส
   4)  การบำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
3. ด้านจัดระเบียบชุมชนสังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย
   1)  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
   2)  การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อย
   3)  การรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนในเขตตำบล
4. ด้านเศรษฐกิจ
   1)  การจัดตั้งกลุ่มอาชีพจดทะเบียนกลุ่มอาชีพ
   2)  ส่งเสริมและพัฒนาด้านอาชีพเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ในครัวเรือนแก่กลุ่มอาชีพและราษฎรในพื้นที่
   3)  ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกลุ่มแม่บ้านให้มีการพัฒนารูปแบบได้หลากหลาย
ภารกิจรอง
   1. เทศพาณิชย์
   2. ให้มีการสาธารณูปการ
   3.  ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
   4.  บำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
   5.  ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะสวนสัตว์และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
   6.  ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมและรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
   7. การเพิ่มศักยภาพบริการให้ประชาชนในชุมชนและส่งเสริมสิทธิชุมชน
   8. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคเอกชนในการพัฒนาเมือง
   9. การพัฒนาศักยภาพขององค์กรและบุคลากร
   10. การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นอย่างเท่าเทียมกัน
   11. การจัดการให้มีความสมดุลในการใช้การป้องกันรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
   12. การจัดให้มีส่งเสริมและพัฒนาสวนสาธารณะแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมนันทนาการ
   13. ส่งเสริมการใช้มาตรการของผังเมือง เพื่อการพัฒนาและควบคุมการขยายตัวของชุมชนเมือง
 
View : 2717